3 คำถามก่อนเริ่ม retrospective

I'Boss Potiwarakorn
1 min readJan 30, 2021
Photo by Héctor J. Rivas on Unsplash

เมื่อเช้าอยู่ในห้องน้ำแล้วอยู่ๆ ก็คิดขึ้นมาว่า มีหลายครั้งที่คนรู้สึกว่า retrospective มันไร้สาระ เสียเวลา บางครั้งผมเองก็รู้สึก ทั้งๆ ที่ก็รู้ว่ามันมีประโยชน์

หรือจริงๆ แล้วมันเป็นเพราะ dynamic ของคนในห้องรึเปล่านะที่ทำให้เกิดความรู้สึกว่า ปัญหาที่เราคิดว่าสำคัญไม่ได้ถูก address จริงๆ พูดกันแต่เรื่องอะไรก็ไม่รู้ เราเองก็ไม่อยากจะไปแย้งอะไรเขา กลัวชาวบ้านเค้าเสียเวลาเหมือนกัน

สำหรับผม หน้าที่ของ retrospective นอกจากมามองปัญหาในอดีต และแก้ไขปัญหาแล้ว สิ่งสำคัญของมันซึ่งน่าตลกดีที่มักจะถูกละเลยคือ การให้ทุกคนได้รู้จักคนอื่นๆ ในทีมลึกขึ้น ได้ฟังมากขึ้น และได้รู้ว่าเราแชร์ อะไรร่วมกันอยู่บ้าง

Insight

เวลาทำ product เค้ายังไปทำ user research เพื่อเก็บ insight มาออกแบบ product เลย ทำไม facilitator จะเก็บ insight มาออกแบบ retro บ้างไม่ได้ เคยเห็นท่าที่ใช้ทำ health checking โดยการถามว่า

สบายใจจะพูดแค่ไหน ให้คะแนน 1–5

แต่บางครั้ง เราตอบ 4 ตอบ 5 เราก็ไม่ค่อยจะพูดอยู่ดี หรือมิติมันน้อยเกินไปทำให้คน over-evaluated ความสบายใจของตัวเอง?

3 คำถาม

เลยนึกถึงคำถามที่เปิดให้ทีมได้มีโอกาส inspect ตัวเอง ก่อนที่จะไป inspect team เพราะถ้าตัวเองยังไม่รู้เลยว่าในใจเรามีอะไรบ้าง มัวแต่ไปโฟกัสเรื่องคนอื่นก็รังแต่จะกังวล ไม่กล้าพูดมากนักเสียเปล่าๆ การเปิดโอกาสให้ได้คิดถึงตัวเอง ทำให้คนกล้าที่จะพูดสิ่งที่ตัวเองคิดมากขึ้น

นอกจากนั้นยังเอา insight ที่ได้จากตัวเองมาลง pool of meaning ของ team แล้ว facilitator ก็สามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปประกอบ discussion ต่อๆ ไปได้อีกต่างหาก

ถ้าต้องให้นึกถึงแค่เรื่องเดียวที่เราเชื่อว่าเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุดสำหรับทีมในตอนนี้ ไม่มีใครตัดสินว่าสิ่งที่เราเชื่อมันถูกหรือผิด คุณนึกถึงเรื่องอะไร

คำถามนี้จะช่วย set tone ของ retrospective ว่าเราควรจะคุยเรื่องอะไรกันแน่ หลายๆ ครั้งจะเห็น pattern ว่าจริงๆ แล้วหลายคนแคร์เรื่องเดียวกัน แต่ไม่มีโอกาสได้พูดออกมาดังๆ เลยไม่ได้ align กัน

มีไอเดียบางอย่างที่ยังตั้งไข่อยู่ในหัว คิดว่าต้องเจ๋งแน่ๆ แต่ยังคิดไม่เสร็จ ไม่กล้าพูดออกไป สิ่งนั้นคืออะไร

คนเรามักจะ doubt ตัวเองว่าสิ่งที่พูดไปคนต้องไม่เข้าใจแน่ๆ logic ของเรายังไม่แข็งแรงพอ ถ้าเราไม่กล้าพูดถึงไอเดียพวกนี้ให้ทีมฟัง ก็พอจะเห็นได้ว่า psycological safety ในทีมยังมีไม่พอรึเปล่า ซึ่งผมเห็นว่าเป็นวิธีเข้าใจถึงความสบายใจของคนในทีมมากกว่าถามว่าสบายใจมากแค่ไหน แถมบางที แค่ตระหนักได้ว่ามีความกังวลนั้นอยู่ ก็อาจจะก้าวข้ามมันด้วยตัวเองได้ด้วยซ้ำ เพราะขั้นแรกของการแก้ปัญหา คือการตระหนักรู้ว่ามีปัญหา และ psycological safety ก็มักจะเป็นปัญหาที่คนไม่ค่อย recognize กันซักเท่าไหร่

นึกถึงเรื่องที่พลาดหรือเรื่องโง่ๆ ล่าสุดที่ทำลงไป จะเล็กน้อยแค่ไหนก็ได้ เรากล้าเล่ากลางห้องนี้มากแค่ไหน?

0 คือไม่กล้าเลย
1 คือพูดอ้อมๆ
2 คือยอมรับว่าพลาดอย่างเต็มอก

เป็นการเน้นย้ำให้ยอมรับถึงความไม่ perfect ของตัวเองและคนอื่น ตระรู้และก้าวข้ามมันไปด้วยกัน ถ้าต้องการความช่วยเหลือจากทีมก็จะทำให้สบายใจที่จะพูดออกมา

คำถามเหล่านี้ นอกจากจะทำให้เห็นถึง insight ของทีมแล้ว ยังช่วยเพิ่ม psychological safety ของคนในทีมอีกด้วย หลังอยากได้ insight มาแล้ว facilitator จะได้เห็นว่า จะ facilitate ต่อไปท่าไหนดี จะไป focus ที่ goal ที่ไม่ align, ที่ไอเดียที่อาจจะไปแก้ปัญหาที่ชัดแล้ว, psychological safety ของทีม, discussion ไหนสำคัญ ควรลงลึก discussion ไหนปล่อยไปคุยนอกรอบ

ลองเอาไปปรับใช้กันดูนะครับ หวังว่าจะทำให้ retrospective มีความหมายและมีประโยชน์มากขึ้น

เวิร์คไม่เวิร์คยังไงมาบอกด้วย!

--

--

I'Boss Potiwarakorn

CTO @ █████; EX-ThoughtWorker; FP, Math, Stats, Blockchain & Human Enthusiast